
โพสโดย : บอส
E-mail : copycase22@gmail.com
IP : 171.99.154.169
กระทู้ : “คีโตเจนิกไดเอต” ขุมพลังความอึด
โพสเมื่อ : 06 สิงหาคม 2565 เวลา : 17:25:54
“คีโตเจนิกไดเอต” ขุมพลังความอึด
นักกีฬาชั้นนำบางคนพิชิตระยะทาง 50 ไมล์ด้วยพลังเท่ากับตอนเริ่มออกสตาร์ท เคล็ดลับของพวกเขาก็คือการหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างเท่านั้นเอง
แซค บิตเทอร์ เป็นนักกี่ฬาจอมอึดที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง
เขาแล่นฉิวผ่าน 35 ไมส์แรกของการแข่งขันอัลตรามาราธอนครั้งแรกของเขาซึ่งก็คือการแข่งขัน North Face Endurance Challengeระยะทาง 50 ไมล์ เขายังมีพลังงานเต็มเปี่ยมและมีสมาธิดี เขาคิดว่าจะผ่านอีก 15 ไมล์ได้อย่างสบายๆแต่แล้วเส้นทางก็พาดผ่านเนินเขาติดต่อกันลูกแล้วลูกเล่า พอถึงระยะ 40ไมล์ บิตเทอร์ก็หมดแรงแต่ยังคงฝืนปั่นต่อไปและเริ่มเสียสมาธิ เขาเลี้ยวตรงทางโค้งและเริ่มไต่ขึ้นเนินชันหฤโหดอีกครั้งแล้วเขาก็น็อคไป
เขานึกโทษตัวเองและเส้นทางแข่งขณะที่เดินโซเซเข้าไปยังสถานีปฐมพยาบาลจุดสุดท้ายในเส้นทาง น้ำอัดลมและเครื่องดื่มเกลือแร่ช่วยประคองให้เขาอยู่ได้ตลอดเส้นทางที่เหลือจนถึงเส้นชัยแบบที่ไม่ราบรื่นเท่าไรนัก
บิตเทอร์เข้าแข่งขันอัลตรามาราธอนอีกหลายครั้งแต่ทุกครั้งก็จบลงแบบเดียวกันคือเขาปั่นได้อย่างราบรื่นตลอดระยะทาง 30-40 ไมล์แรกแล้วก็มาถึงจุดหนึ่งในการแข่งขันที่เขาจะรู้สึกวิงเวียนและ
หงุดหงิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนเขาไม่สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ
เขาพิจารณาการฝึกและแผนโภชนาการของตัวเองอย่างละเอียดทุกแง่มุมเพื่อหาทางแก้ปัญหา
ทั้งค้นคว้าและตั้งคำถาม แล้วเขาก็ตัดสินใจเปลี่ยนแผนการกินของตนเองอย่างสุดขั้ว โดยการหั่นคาร์โบไฮเดรตจำนวนมากทิ้งไป เฉือนโปรตีนทิ้งเป็นบางส่วน และกินไขมันเพิ่มขึ้นมาก
หลังจากทำตามแผนนี้นานแปดสัปดาห์การฝึกของบิตเทอร์ก็เข้มข้นขึ้นและช่วงเวลาการฟื้นตัวก็ลดลง ในการแข่งขันครั้งถัดไปเขาไม่น็อคอีกแล้ว หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ชนะการแข่งขันอัลตรามาราธอนสี่ครั้งในปี 2012 และ 2013 โดยทำลายสถิติการแข่งระยะ 100 ไมล์ ด้วยเวลา 11:47:21 สองปีหลังจากนั้นเขาก็ทำลายสถิติของตัวเองที่ระยะทางเท่าเดิมด้วยเวลา 11:40:55 นั่นหมายความว่าเขาทำเวลาได้ราว 7 นาทีต่อไมล์ ตลอดระยะทาง 100 ไมล์ติดต่อกัน
แผนการกินอาหารของบิตเทอร์คือ
คารับต่ำไขมันสูงและโปรตีนปานกลาง หรือมีชื่อเรียกว่าคีโตเจนิกไดเอต (Ketogenic Diet) ซึ่งไม่เหมาะกับคนใจเสาะ และแม้จะสวนทางกับความเชื่อที่ว่าสำหรับการสร้างความทนทานแล้ว “Carbs Are King” ซึ่งได้รับการเผยแพร่มานานหลายปีแล้วดีโตเจนิกไดเอตได้รับความสนใจจากนักกีฬา
จอมอึดชั้นนำบางคน ซึ่งบอกว่าการกินตามแนวทางนี้ช่วยให้พวกเขาออกแรงได้มากขึ้นและนานขึ้น แถมยังรู้สึกสบายดีเมื่อปั่นถึงระยะ 50 ไมล์ไม่ต่างจากตอนออกสตาร์ท แผนการกินที่ค้านกับความรู้สึกเช่นนี้กลับให้ผลดีได้อย่างไร
เหตุผลก็คือการรับประทานอาหารปกติร่างกายจะเปลี่ยนกลูโคส (น้ำตาลชนิดหนึ่ง)จากคาร์บที่คุณกินเข้าไปให้เป็นไกลโคเจนและไกลโคเจนนั้นก็จะถูกเก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อรอที่จะถูกนำมาใช้สำหรับการออกกำลังกายหนักๆแต่โชคร้ายที่ร่างกายคุณสามารถเก็บไกลโคเจนไว้ได้เพียงพอสำหรับการออกกำลังกายแบบเข้มข้นแค่สองชั่วโมงเท่านั้น
ถ้าเล่นกีฬระยะสั้นก็จะไม่มีปัญหาอะไรแต่ถ้าคุณเป็นสาวกกี่ฬาระยะยาว ชอบการแข่งไอรอนแมนมากกว่าไตรกีฬก็อาจเกิดปัญหาได้เมื่อคุณเล่นกีฬาครบสองชั่วโมงโดยไม่มีการเติมพลังงาน ไกลโคเจนที่สะสมไว้จะถูกใช้ไปจนหมด ร่างกายคุณจะเริ่มควานหาพลังงานจากแหล่งอื่นมาใช้ และเมื่อหาไม่พบมันก็หยุดทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเช่นนี้คุณจึงควรกินเจลดื่มน้ำและเกลือแร่ และกิน…อย่างต่อเนื่องขณะวิ่งปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ เพื่อรักษาระดับไกลโคเจนที่สะสมไว้ให้คงที่ การกินคารับให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายน็อคในระหว่างกิจกรรมกีฬาที่ต้องใช้ความอึดจึงเป็นวิธีที่หากเป็นไปได้ก็ไม่ค่อยสะดวกนัก